ฝนกรดคืออะไร เราสามารถป้องกันสนิมจากฝนกรดได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
สารบัญ
ฝนกรด เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่องโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว สนิมเหล็กที่ค่อยๆปรากฎขึ้นส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากฝนกรดเช่นกัน ฝนกรดคืออะไรและเราจะมีวิธีการป้องกันสนิมจากฝนกรดได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
คือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำฝนในธรรมชาติ ที่มีค่า pH ลดลงต่ำกว่าปกติ ซึ่งจะอยู่ในช่วง pH 4.2 ถึง pH 4.4 ซึ่งโดยปกติแล้ว น้ำฝนจะมีฤทธิ์ความเป็นกรดอ่อนๆ โดยมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 5.6 ปรากฏการณ์ ฝนกรด ไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นโดยการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา อันเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีเมืองที่มีขนาดใหญ่ มีรถยนต์จำนวนมาก รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีการปลดปล่อยมลพิษของเสียขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เช่น ไอเสียจากรถยนต์, ไอเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม, การเผาไหม้ถ่านหินในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เป็นต้น เมื่อฝนตก น้ำฝนจะรวมตัวกับมลพิษที่อยู่บนชั้นบรรยากาศ และตกลงมาเป็น ฝนกรด
ปรากฏการณ์ฝนกรด อาจไม่ได้เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์เพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ, เกิดไฟป่า หรือการย่อยสลายเน่าเปื่อยของซากพืช ซึ่งมักเป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide: SO2) ปริมาณมากเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ทำให้ฝนที่ตกลงมาในช่วงเวลานั้นมีฤทธิ์เป็นกรดมากกว่าน้ำฝนปกติ แต่ปรากฏการณ์ฝนกรดในธรรมชาติมักจะไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก
ผลกระทบจากปรากฏการณ์ฝนกรด
- ความเสียหายต่อดินและป่าไม้ ฝนกรดสร้างความเสียหายต่อธาตุอาหารของพืชในดิน ส่งผลให้พืชดูดซึมธาตุอาหารเหล่านี้ได้ยาก นอกจากนี้ การที่มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในอากาศปริมาณมาก ยังส่งผลต่อกระบวนการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และการทำงานของปากใบของพืช ซึ่งลดทอนความสามารถในการสังเคราะห์แสงของพืช
- ผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ ฝนกรดเป็นมลภาวะทางอากาศชนิดหนึ่ง เมื่อได้สัมผัสจะทำให้มีความระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตา ระบบของทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเมื่อมีการบริโภคน้ำฝนที่เพิ่งตกลงมาใหม่ๆอาจเสี่ยงต่อการดื่มน้ำที่มีสภาวะปนเปื้อนของสารพิษ ที่มีฤทธิ์เป็นกรด
- ความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง ฝนกรดจะทำให้โครงสร้างทางกายภาพเสียหาย โดยเฉพาะอาคารที่สร้างจากหินปูนและหินอ่อนจะผุกร่อน เมื่อได้สัมผัสกับฝนกรด รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง หรือยานพาหนะที่มีส่วนประกอบของเหล็กเป็นหลัก ซึ่งฝนกรดจะทำให้เหล็กเกิดปฎิกิริยาการผุกร่อนจากสนิมได้อย่างรวดเร็วกว่าปกติ
โดยทั่วไปการป้องกันสนิมให้เหล็กรอดพ้นจากการผุกร่อน มักจะใช้วิธีการทาสีป้องกันสนิม หรือชุบกัลป์วาไนซ์สำหรับป้องกันสนิม เพื่อไม่ให้เหล็กได้สัมผัสกับอากาศ หรือออกซิเจนโดยตรง อันเป็นสาเหตุเริ่มต้นของการผุกร่อนจากสนิม แต่วิธีนี้ก็สามารถป้องกันสนิมจากการผุกร่อนได้เพียงในระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากว่า เมื่อสี หรือกัลวาไนซ์ เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง คุณภาพของสี หรือสารกัลวาไนซ์จะเสื่อมคุณภาพลง เริ่มมีรอยแยกของสีหรือกัลวาไนซ์ที่เคลือบ ซึ่งก็จะทำให้ชิ้นงานของเหล็กดังกล่าวได้สัมผัสกับออกซิเจน และฝนกรดโดยตรง อันเป็นจุดเริ่มต้นของการผุกร่อนของสนิม หรือเหตุการณ์ที่ชิ้นงานโลหะเกิดการกระแทกเสียดสีกันจนเป็นเหตุให้สีหรือกัลวาไนซ์ที่เคลือบ เป็นแผลถลอกจนเห็นเนื้อเหล็กข้างใน ก็เป็นสาเหตุให้ผุกร่อนได้เช่นกัน
การคิดค้นและพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งสำหรับการแก้ไขปัญหาจากการผุกร่อนของสนิมโดยมีฝนกรดมาเป็นตัวช่วยกระตุ้น จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการคิดค้นนวัตกรรมการป้องกันสนิมที่มีประสิทธิภาพอีกทางเลือกหนึ่ง และเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค คือ การป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้า หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ระบบการป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสี
ชั้นสี จำเป็นต้องมี เนื่องจากเครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสีดังกล่าว ผลิตประจุไฟฟ้าสถิตย์ออกมาตลอดเวลา ถ้าไม่มีชั้นสีที่เป็นฉนวนเพื่อกักเก็บประจุดังกล่าว ประจุลบที่ผลิตออกมาก็สูญเสียออกไปมากจนสร้างไม่ทัน และจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดสนิมได้
ระบบป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าจริง แต่เป็นไฟฟ้ากระแสตรง(DC) โดยปล่อยค่ากระแสไฟฟ้าออกมาเพียง 7.8 โวลต์เท่านั้น เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
อยากรู้จักว่าระบบนี้ เป็นอย่างไร? แก้ไขปัญหาของสนิมได้จริงไหม? มีผลการทดสอบความสามารถในการป้องกันสนิมจากหน่วยงานทดสอบมาตรฐานหรือไม่? มีผู้ที่ใช้จริงและช่วยพิสูจน์แล้วเขาพูดกันอย่างไรบ้าง? ถ้าอยากรู้ !!!! ลองเข้าไปพิสูจน์และเยี่ยมชมเวปไซต์ได้ที่ www.i-guardthailand.com
อุปกรณ์ระบบป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าจะทำหน้าที่ปล่อยประจุลบเข้าไปในเนื้อเหล็ก และในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ก็จะทำหน้าที่เหนี่ยวนำประจุลบให้ลอยขึ้นมาอยู่บนผิวเหล็ก เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันสนิม ประจุลบจะทำหน้าที่ ผลักดันประจุลบในอากาศไม่ให้มาดึงประจุบวกของเนื้อเหล็กออกไป เหล็กจึงไม่มีการสูญเสียประจุบวก ในขณะเดียวกันประจุบวกที่อยู่ในอากาศก็จะมาดึงประจุลบของเหล็กที่ผิวเหล็กออกไปอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากว่าเครื่องป้องกันสนิมด้วยประจุไฟฟ้าภายใต้ชั้นสีดังกล่าว มีกล่องควบคุม(ECU)ทำหน้าที่ผลิตประจุลบให้กับผิวเหล็กอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการชดเชยประจุลบได้อย่างเพียงพอ และทันต่อการสูญเสียออกไป จึงทำให้ประจุไฟฟ้าของเหล็กมีความเสถียร จึงทำให้เหล็กไม่เป็นสนิม